ขอเชิญร่วม “การสัมมนาด้านการดูแลสุขภาพนานาชาติในไต้หวันปี 2020” ออนไลน์ระหว่างวันที่ 23-24 ตุลาคม 2563 สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เชิญร่วม “การสัมมนาด้านการดูแลสุขภาพนานาชาติในไต้หวัน” (2020 Global Health Forum in Taiwan) จัดขึ้นทุกปี ปีนี้เนื่องจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน โดยมีทั้งแบบปกติ ณ นครไทเป และแบบออนไลน์ควบคู่กัน หัวข้อการประชุมปีนี้คือ “การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังยุคโควิด-19: นวัตกรรม การหลอมรวม และพันธมิตร” (Achieving SDGs in the Post-COVID-19 Era: Innovation, Inclusion and Partnership)
การเสวนาจะเจาะลึกประเด็นหลังยุคโควิด-19
(1) ความเข้มแข็งและความเป็นมนุษย์
(2) ความท้าทายของระบบรักษาพยาบาล และ
(3) อนาคตและความหวัง
ปีนี้ นายเฉิน สือ จง รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จะเป็นผู้กล่าวเปิดงาน นอกจากยังมีนายเฉิน เจี้ยน เหริน อดีตรองประธานาธิบดี และนางสาวออเดรย์ถังรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล สภาบริหารและนักการเมืองระดับสูงของไต้หวันมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จในการต่อสู้โรคระบาดของไต้หวัน อีกทั้งยังมี เซอร์ ไมเคิล มาร์มอท (Sir Michael Marmot) ประธานคณะกรรมาธิการว่าด้วยปัจจัยกำหนดทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ (Commission on Social. Determinants of Health) องค์กรอนามัยโลก (WHO) และผู้อำนวยการสถาบันความเป็นธรรมด้านสุขภาพภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร, ดร. ริชาร์ด ฮอร์ตัน (Dr. Richard Horton) บรรณาธิการบริหารวารสารการแพทย์ชื่อดัง เดอะ แลนเซ็ต (The Lancet), ตัวแทนเครือข่ายสากลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting Hospital: HPH) องค์การอนามัยโลก และบุคคลสำคัญวงการสาธารณสุขทั่วโลกมาเป็นผู้ร่วมเสวนาของแต่ละช่วง หัวข้อเสวนาครั้งนี้ครอบคลุมถึงประเด็นการป้องกันโรคและการต่อสู้กับโรคระบาดทั้งด้านเวชภัณฑ์ เทคโนโลยี และนโยบายสาธารณสุข ดูกำหนดการเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ghftw.org/site/page.aspx?pid=216&sid=1123&lang=cht
ผู้สนใจร่วมงานต้องใช้มือถือสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่อยู่ด้านขวาล่างเพื่อทำการสมัครหรือสมัครผ่านเว็บไซต์ทางการโดยตรงได้ที่ https://ppt.cc/fS3r7x บนหน้าเว็บไซต์ลงทะเบียน (Registration) ให้กรอกชื่อและเลือกสัญชาติ จากนั้นเลือก “วิธีร่วมงานเสวนา” (How would you attend the meeting?) และกดเลือก “การประชุมออนไลน์” (Online Meeting) พร้อมกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผู้ร่วมงานสามารถดูการเสวนาออนไลน์ของแต่ละช่วงโดยผ่านยูทูป (YouTube) และแสดงความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อร่วมหารือประเด็นต่างๆ